อาหารควาย
อาหารเป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งที่ช่วยให้วัวควายเติบโตและให้ผลิตผลมาก อาหารวัวควายนั้นจำแนกได้เป็น
๒ ชนิด ตามปริมาณของเยื่อใย (fiber)
ที่มีในอาหาร ชนิดแรก คือ อาหารข้น (concentrate)
ได้แก่ อาหารที่มีเปอร์เซ็นต์เยื่อใยต่ำ
แต่มีส่วนประกอบย่อยง่ายมาก อาหารชนิดนี้ ได้แก่ ปลาป่น กากถั่ว เมล็ดพืช
รำ มันสำปะหลัง อาหารอีกชนิดหนึ่ง
เรียกว่า อาหารหยาบ (roughage) ได้แก่
อาหารที่มีเปอร์เซ็นต์เยื่อใยสูง มีส่วนประกอบย่อยง่ายน้อยเมื่อเทียบสัดส่วนกัน
เช่น หญ้า หรือพืชสด ฟาง หญ้าแห้ง ชานอ้อย เปลือก ถั่วลิสง
อาหารที่ใช้เลี้ยงวัวควายใช้งานโดยทั่วไป มีแต่หญ้าและฟางเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งเป็นการเพียงพอแก่การดำรงชีพและทำงาน วัวควายกินหญ้าและฟาง วันละประมาณ ๑๐-๑๕ กิโลกรัม หรือโดยทั่วไปประมาณ ๓-๕ เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักตัว การขุนวัวควายเนื้อและการเลี้ยงวัวควายนม จำเป็นต้องใช้อาหารข้น ประกอบด้วย เพื่อให้วัวควายโตเร็วและให้นมมาก แต่ไม่ควรใช้อาหารข้นเพียงอย่างเดียว เพราะวัวควาย อาจท้องเสีย ทำให้ได้ประโยชน์จากอาหารไม่เต็มที่ตามที่คาดหมาย ยิ่งกว่านั้นยังเป็นการสิ้นเปลือง เพราะราคาอาหารข้นแพงมาก
วัวควายที่กินหญ้าเพียงอย่างเดียวเป็นอาหาร สามารถดำรงชีพและให้ผลิตผลได้ ทั้งนี้เพราะวัวควาย มีกระเพาะแบบพิเศษผิดไปจากหมู หมา เป็ด ไก่ ซึ่งเป็นสัตว์กระเพาะเดี่ยว (simple stomach) วัวควายเป็นสัตว์เคี้ยวเอื้องที่มีกระเพาะแบ่งเป็นหลายช่อง เรียกว่า กระเพาะรวม (compound stomach) กระเพาะรวมนี้แบ่งได้เป็น ๔ ช่อง คือ ช่องแรก เรียกว่า กระเพาะรูเมน (rumen) หรือ กระเพาะขอบกระด้ง หรือ ผ้าขี้ริ้ว เป็นช่องที่ใหญ่ที่สุด ซึ่งเป็นกระเพาะที่ทำให้วัวควาย เป็นสัตว์ที่มีความสามารถพิเศษ เพราะในกระเพาะนี้มีจุลินทรีย์อยู่มากมายหลายชนิด ทำหน้าที่ในการช่วยย่อยหมักหญ้า และอาหารหยาบอื่น ๆ ให้มีคุณค่าต่อร่างกายของวัวควายได้ ถ้าวัวควายปราศจากจุลินทรีย์ในกระเพาะรูเมนนี้ จะไม่สามารถดำรงชีพด้วยหญ้าเพียงอย่างเดียวได้ ช่องที่สอง เรียกว่า กระเพาะรวงผึ้ง (honey comb หรือ reticulum) ช่องนี้เป็นช่องที่เล็กที่สุด ช่วยในการดูดซึมน้ำและโภชนะบางอย่าง ที่ได้จากการย่อยหมักหญ้าในช่องแรก ช่องที่สาม เรียกว่า กระเพาะสามสิบกลีบ (omasum) ทำหน้าที่ในการดูดซึมน้ำจากอาหาร และช่วยลดขนาดของอาหารที่มาจากช่องที่สองให้เล็กลง และยังเป็นทางผ่านของนมจากหลอดอาหารไปกระเพาะช่องสุดท้ายขณะวัวควายยังเล็กอยู่ด้วย ช่องสุดท้าย เรียกว่า กระเพาะธรรมดา (abomasum) เทียบได้กับกระเพาะของสัตว์กระเพาะเดี่ยว เพราะในช่องนี้จะมีการสร้างน้ำย่อยมาย่อยอาหารอย่างแท้จริง ก่อนที่จะส่งไปย่อยและดูดซึมเข้าสู่ร่างกายที่ลำไส้เล็กต่อไป
การที่วัวควายเติบโตและให้ผลิตผลได้ ด้วยการกินหญ้าเพียงอย่างเดียว เพราะมีกระเพาะรูเมนซึ่งเต็มไปด้วยจุลินทรีย์ ที่ทำหน้าที่หมักและย่อยหญ้า และอาหารหยาบอื่น ๆ จนในที่สุดให้ผลพลอยได้จากกระบวนการนั้นเกิดขึ้น ในรูปวิตามินบางชนิด กรมอะมิโน และกรดไขมันบางชนิด อันจำเป็นต่อร่างกายวัวควาย
อาหารที่ใช้เลี้ยงวัวควายใช้งานโดยทั่วไป มีแต่หญ้าและฟางเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งเป็นการเพียงพอแก่การดำรงชีพและทำงาน วัวควายกินหญ้าและฟาง วันละประมาณ ๑๐-๑๕ กิโลกรัม หรือโดยทั่วไปประมาณ ๓-๕ เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักตัว การขุนวัวควายเนื้อและการเลี้ยงวัวควายนม จำเป็นต้องใช้อาหารข้น ประกอบด้วย เพื่อให้วัวควายโตเร็วและให้นมมาก แต่ไม่ควรใช้อาหารข้นเพียงอย่างเดียว เพราะวัวควาย อาจท้องเสีย ทำให้ได้ประโยชน์จากอาหารไม่เต็มที่ตามที่คาดหมาย ยิ่งกว่านั้นยังเป็นการสิ้นเปลือง เพราะราคาอาหารข้นแพงมาก
วัวควายที่กินหญ้าเพียงอย่างเดียวเป็นอาหาร สามารถดำรงชีพและให้ผลิตผลได้ ทั้งนี้เพราะวัวควาย มีกระเพาะแบบพิเศษผิดไปจากหมู หมา เป็ด ไก่ ซึ่งเป็นสัตว์กระเพาะเดี่ยว (simple stomach) วัวควายเป็นสัตว์เคี้ยวเอื้องที่มีกระเพาะแบ่งเป็นหลายช่อง เรียกว่า กระเพาะรวม (compound stomach) กระเพาะรวมนี้แบ่งได้เป็น ๔ ช่อง คือ ช่องแรก เรียกว่า กระเพาะรูเมน (rumen) หรือ กระเพาะขอบกระด้ง หรือ ผ้าขี้ริ้ว เป็นช่องที่ใหญ่ที่สุด ซึ่งเป็นกระเพาะที่ทำให้วัวควาย เป็นสัตว์ที่มีความสามารถพิเศษ เพราะในกระเพาะนี้มีจุลินทรีย์อยู่มากมายหลายชนิด ทำหน้าที่ในการช่วยย่อยหมักหญ้า และอาหารหยาบอื่น ๆ ให้มีคุณค่าต่อร่างกายของวัวควายได้ ถ้าวัวควายปราศจากจุลินทรีย์ในกระเพาะรูเมนนี้ จะไม่สามารถดำรงชีพด้วยหญ้าเพียงอย่างเดียวได้ ช่องที่สอง เรียกว่า กระเพาะรวงผึ้ง (honey comb หรือ reticulum) ช่องนี้เป็นช่องที่เล็กที่สุด ช่วยในการดูดซึมน้ำและโภชนะบางอย่าง ที่ได้จากการย่อยหมักหญ้าในช่องแรก ช่องที่สาม เรียกว่า กระเพาะสามสิบกลีบ (omasum) ทำหน้าที่ในการดูดซึมน้ำจากอาหาร และช่วยลดขนาดของอาหารที่มาจากช่องที่สองให้เล็กลง และยังเป็นทางผ่านของนมจากหลอดอาหารไปกระเพาะช่องสุดท้ายขณะวัวควายยังเล็กอยู่ด้วย ช่องสุดท้าย เรียกว่า กระเพาะธรรมดา (abomasum) เทียบได้กับกระเพาะของสัตว์กระเพาะเดี่ยว เพราะในช่องนี้จะมีการสร้างน้ำย่อยมาย่อยอาหารอย่างแท้จริง ก่อนที่จะส่งไปย่อยและดูดซึมเข้าสู่ร่างกายที่ลำไส้เล็กต่อไป
การที่วัวควายเติบโตและให้ผลิตผลได้ ด้วยการกินหญ้าเพียงอย่างเดียว เพราะมีกระเพาะรูเมนซึ่งเต็มไปด้วยจุลินทรีย์ ที่ทำหน้าที่หมักและย่อยหญ้า และอาหารหยาบอื่น ๆ จนในที่สุดให้ผลพลอยได้จากกระบวนการนั้นเกิดขึ้น ในรูปวิตามินบางชนิด กรมอะมิโน และกรดไขมันบางชนิด อันจำเป็นต่อร่างกายวัวควาย