ประวัติควายไทย
คำว่า
"ควาย" นั้นมีความหมายทั้งนัยตรงและความหมายเชิงเปรียบเทียบ
"ควาย" ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณบัณฑิตยสถานได้ให้ความหมายไว้เป็นสองอย่างคือ
อย่างแรก หมายถึง สัตว์เคี้ยวเอื้องชนิดหนึ่ง เป็นสัตว์กีบคู่รูปร่างใหญ่
สีดำหรือสีเทา เขาโค้ง ใต้คางและหน้าอกมีขนขาว และความหมายที่สอง หมายถึง คนโง่
เซ่อหรือคนตัวใหญ่แต่ไม่ฉลาด คนมักพูดกันถึงความหมายในแบบที่สอง ซึ่งจะใช้พูดเปรียบเทียบถึงความโง่เง่า
หรือความไม่ดี มากกว่าการพูดถึงตัวสัตว์ที่เป็นควายจริง ๆ แต่คำว่า
"ควาย" ก็เป็นคำไทยแท้ใช้กันมาตั้งแต่ดั้งเดิมแล้ว สำนวน สุภาษิต และคำพังเพยที่ที่เปรียบเทียบก็มักจะใช้คำว่าควายทั้งนั้น
เช่น สีซอให้ควายฟัง,
ความวัวยังไม่ทันหายความควายเข้ามาแทรก, อยู่บ้านท่านอย่านิ่งดูดายปั้นวัวปั้นควายให้ลูกท่านเล่น,
เสี้ยมเขาควายให้ชนกัน เป็นต้น ส่วนคำว่า "กระบือ"
ซึ่งก็หมายถึงควายเช่นกัน แต่ไม่ได้หมายความถึงโง่ เซ่อ กระบือ จะเป็นคำที่ใช้ในลักษณะเป็นทางการมากกว่าการพูดกันทั่ว
ๆ ไป แต่ไม่ได้หมายความว่า "ควาย"
เป็นคำที่ไม่สุภาพซึ่งจะเห็นว่ามีการใช้กันทั้งสองคำ ขึ้นอยู่กับผู้ใช้ว่าจะถนัดใช้คำว่า
ควายหรือกระบือ นอกจากนี้ยังมีคำว่า "เจ้าทุย" หรือ "ไอ้ทุย"
ซึ่งก็หมายถึงควายเช่นกัน แต่คำว่า "ควายทุย" ในบางท้องถิ่นจะหมายถึงควายที่มีลักษณะเขาสั้น
ในประเทศเพื่อนบ้านเราและแถบประเทศอาเซียนก็จะมีชื่อเรียกต่างกันเช่น
ประเทศกัมพูชา หรือชาวเขมรจะเรียกว่า กระบาย ประเทศมาเลเซีย จะเรียกว่า กระบาว(Krabau)
และประเทศฟิลิปปินส์ ซึ่งใช้ภาษาตากาล็อก เรียกว่า คาราบาว (Carabao)